วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบและนำเสนอ วีดิทัศน์หนังสั้นอย่างสร้างสรรค์

หนังสั้น 
หนังสั้น หมายถึง เรื่องที่นำเสนอทั้งภาพและเสียงและในระยะเวลาอันจำกัดประมาณ 5-10 นาที
โดยสะท้อนเรื่องราว สาระที่เกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็ว

ขั้นตอนการผลิตหนังสั้น


1. ขั้นเตรียมการผลิต (Pre-Production)
    1.1 สำรวจความต้องการและวิเคราะห์ปัญหา
    1.2 วิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเรื่อง
    1.3 เขียนบทวีดิทัศน์
    1.4 วางแผนการถ่ายทำ


2. ขั้นการผลิต (Production)
คือ การถ่ายทำวีดิทัศน์เป็นการบันทึกภาพวีดิทัศน์ตามบทวีดิทัศน์ที่ได้เขียนไว้ ในการถ่ายทำควรจะต้อง
ศึกษาบทวีดิทัศน์อย่างละเอียด ถ่ายทำให้ได้ภาพครบตามที่ต้องการ

3. ขั้นหลังการผลิต (Post-Production)
คือ การตัดต่อลำดับภาพ ในขั้นนี้ถือว่าเป็นสุดท้ายของการผลิต เป็นขั้นสำคัญอีกขั้นหนึ่งที่ต้องมีความระเอียดรอบคอบ

4. ขั้นการประเมินผล (Evaluation)
การประเมินผล เป็นการประเมินผลสื่อ เมื่อได้ผลิตรายการวีดิทัศน์มาแล้วต้องนไไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริงเพื่อนไข้อมูลต่างๆ มาปรับปรุงแก้ไขตามที่เห็นสมควร


5. ขั้นเผยแพร
การเผยแพร่ ในการเผยแพร่วีดิทัศน์ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายให้ได้มากที่สุด ป

การเขียนบทวีดิทัศน์
บทวีดิทัศน์ คือ เป็นข้อเขียนหรือรายละเอียดที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นตัวกำหนดแนวทาง ในการดำเนินการผลิตรายการวีดิทัศน์ และสื่อความหมายให้ทุกฝ่ายเข้าใจได้ตรงกันและสื่อความหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์

จุดมุ่งหมายของการเขียนบทวีดิทัศน์
1. เพื่อกำหนดรูปแบบของรายการ
2. เพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาของรายการ
3. เพื่อจัดข่าวสารที่สำคัญของการผลิตรายการให้เป็นขั้นตอน
บทวีดิทัศน์แบ่งออกเป็น 4 แบบใหญ่ๆ
1. บทวีดิทัศน์แบบสมบูรณ์(Fully script)
2. บทวีดิทัศน์กึ่งสมบูรณ์(Semi script )
3. บทวีดิทัศน์บอกเฉพาะรูปแบบ (Rundown sheet)
4. บทวีดิทัศน์แบบร่างกำหนดการของรายการ

การวางแผนกำหนดแนวทางการเขียน
Whoกลุ่มเป้าหมายของเรื่องคือใคร
Why- วัตถุประสงค์ของการน าเสนอเรื่องราว
What - มีอะไรเป็นขอบเขตเนื้อหา
 How- เทคนิคการน าเสนอ น่าสนใจ มีชีวิตชีวา มีลูกเล่น มีขึ้น-ลง
When - เวลา / ความยาว / ออกอากาศ
Where- โรงเรียน / สถานีโทรทัศน์/Internet 

ลำดับขั้นการเขียนบท 
1. ศึกษาแผนการผลิต
2. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
3. การเขียนโครงสร้างเรื่องจากข้อมูลที่ค้นคว้า
4. ควรมีการประชุมเพื่อให้ความเห็นชอบกับโครงเรื่อง
5. ในการเขียนบทสำหรับถ่ายทำ ผู้เขียนบทควรคำนึงอยู่เสมอว่าการเขียนบทวีดิทัศน์ให้ช่างภาพและทีมงานเข้าใจอย่างดี
6. ตรวจสอบประเมินความถูกต้องของบท

องค์ประกอบที่สำคัญของบทวีดิทัศน์
1. ส่วนที่นำเข้าสู่เรื่องหรือแนะน าเรื่อง (introduction) 
2. ส่วนที่เป็นการดำเนินเรื่อง (development)
3. ส่วนที่เป็นแก่นของเรื่อง(climax)
4.เป็นส่วนที่สรุป