วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วีดิทัศน์ผ่าน Youtube

วีดิทัศน์ผ่าน Youtube หัวข้อ สวัสดีปีใหม่

http://www.youtube.com/watch?v=BQuZEKsSBFg&feature=youtu.be


                         


การใช้โปรแกรม  Windows  Movie  Maker 

1. เขาไปที่  Manu Start

2. เลือกไปที่ Program  File

3. เลือกไปที่โปรแกรม Windows  Movie  Maker      

4. เลือกภาพที่ต้องการจะตัดต่อโดยเลือกที่  Manu   Import  Pictures

5.  เลือกไปยัง File   ที่จัดเก็บรูปภาพไว้

6. จะปรากฏ File  ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้

7.  เลือก File  รูปภาพที่ต้องการตัดต่อ

8.  เลือก Import

9. จากนั้นให้เลือกภาพที่ต้องการตัดต่อมาวางที่  Show storyboard โดยรูปภาพที่ต้องการตัดต่อนั้น
ให้วางตรงช่อง Video โดยการใช้เม้าล์คลิกแช่ไว้ตรงรูปภาพที่ต้องการแล้วลากมาตรงช่อง Video

10.  วิธิการเพิ่ม Video  Effects  ในภาพที่ต้องการตัดต่อโดยการคลิกเม้าล์ด้านซ้ายมือตรงภาพที่เลือกที่จะตัดต่อ จะมี Manu ปรากฎขึ้นให้เลือก Video  Effects

11. หลังจากที่เลือก Video  Effects   บนหนาจอจะโชว์ Effects ให้เลือก  คลิกเลือก Effects
ที่ต้องการ แล้วกด Add  ตอบ  OK

12.  วิธิการใส่  Video  Transitions  ระหว่างภาพที่ต้องการตัดต่อ โดยการเลือกที่
VideoTransitions  บนหน้าจอ

13. จากนั้นหน้าจอจะปรากฎ Transitions ให้เลือก Transitions ที่ต้องการให้เม้าล์คลิกแช่ตรง Transitions   ที่ต้องการแล้วลากไปวางระหว่างภาพที่จะตัดต่อ

14. การ  Import  audio or  music  (การลงเพลง)  โดยการการเลือกไปที่  Manu Import  audio
or  music  จากนั้นเลือกไดร์ที่จ่ีดเก็บ  File เพลง ตรง Lock  In เลือก File เพลงที่ต้องการ
แลวเลือก Import

15. ใช้เม้าล์คลิกลากเพลงที่ต้องการมาวางตรงช่อง Audio  Music

16. วิธิการแทรกข้อความบนภาพที่ต้องการตัดต่อโดยการเลือกที่ Manu  titles  or  cardits
จากนั้นหน้าจอจะปรากฏรูปแบบให้เลือก ใหเลือกรูปแบบตามที่ต้องการ
จากนนพิมพ์ข้อความที่ต้องการแทรกลงบนภาพที่ต่้องการตัดต่อแล้วไปที่ Manu edit  title text  
เลือกรูปแบบการโชว์ข้อความ
จากนั้นให้เลือกไปที่ Manu Change the text font and color เพื่อกำหนดแบบข้อความ
แบบตัวอักษร/ ขนาดตวอักษร /สีตัวอักษร ที่ต้องการแทรกลงในภาพที่ตัดต่อ
เป็นการเสร็จสิ้นการเพิ่มตัวอักษร

โปสเตอร์ (Poster)


โปสเตอร์ (Poster) หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่ที่เป็นแผ่นเดียวมีขนาดใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ผู้จัดทำใช้ติดตาม
สถานที่ต่าง ๆ ในแนวตั้ง เช่น ผนัง ตู้กระจก เสาไฟฟ้า ฯลฯ มีเนื้อหาสาระเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์
สินค้าหรือบริการหรืองานอื่นๆที่ต้องการเรียกร้องความสนใจ ส่วนใหญ่แล้วมักนำเสนอเพียงแนวความ
คิดเดียวเป็นหลักใหญ่



ประโยชน์ของโปสเตอร์ 
1. โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องมือในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาสินค้า/บริการ 
งานต่างๆ งานดนตรี ภาพยนตร์
2. เพื่อใช้ในการศึกษานำเสนอสาระใดสารหนึ่ง
3. เพื่อเป็นสื่อการสอนอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ 
4. นำเสนอผลงานทางวิชาการ

ลักษณะของภาพโปสเตอร์ที่ดี
1. รูปแบบต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ 

2. มีลักษณะ เด่นชัด มองเห็นสะดุดตา 
3. ข้อความนั้นต้องสั้น กระชับได้ใจความ 
4. รูปภาพเร้าความสนใจ ชวนติดตาม
5. มีการสื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์ 
6. แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค
7. มีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ในระยะไกล 
8. ในเรื่องการนำเสนอต้องมีข้อมูลเพียงเรื่องเดียวแลที่สำคัญตรงประเด็น




ส่วนประกอบของโปสเตอร์
1. ข้อความพาดหัว
2. รายละเอียด
3. รูปภาพประกอบ
4. คำขวัญ/สโลแกนเพื่อจูงใจ/ข้อความลงท้าย
5. โลโก้ของหน่วยงานเจ้าของโปสเตอร




ขั้นตอนการออกแบบโปสเตอร์
1. ศึกษารายละเอียดและวิเคราะห์ข้อมูลที่จ าเป็นที่ต้องการสื่อสาร

2. นำข้อมูลที่ต้องการสื่อสารมาออกแบบร่าง
3. เลือกรูปแบบและการวางผัง (Layout) ที่เหมาะสมกับงาน
4. ทำการวางแบบเลย์เอ้าท์นำส่วนประกอบต่างๆมาลองวางลงในหน้ากระดาษ เพื่อดูว่ามีมากพอหรือไม่ 
ต้องการเพิ่มเติมส่วนใด หรือต้องตัดอะไรออก ดูความเข้ากันของส่วนประกอบทั้งหมดโดยใช้
องค์ประกอบศิลปะช่วยในการจัด
5. กำหนดลักษณะของส่วนประกอบต่างๆของงานที่เหมาะสม เช่น แบบ ขนาดของตัวอักษรที่ใช้ในส่
ต่าง ๆ ของเนื้อหา
6.การทำต้นฉบับเหมือนพิมพ์ อาร์ตเวิร์ค (artwork) น าแบบร่างที่ลงตัวถูกต้องแล้ว มาทำให้เป็นขนาด
เท่าของจริง ทั้งภาพและตัวอักษร ช่องไฟ และงานกราฟิคทุกอย่าง ซึ่งปัจจุบันจะใช้โปรแกรมจัดทำอาร์ต
เวิร์ค เช่น Adobe Indesign, Illustrator เป็นต้น
7. ทำการตรวจทาน ดูความถูกต้องของภาษา ความเหมาะสมของรูปภาพ และการจัดวาง
8. แก้ไขรายละเอียดและปรับแต่งขั้นสุดท้าย นำส่งโรงพิมพ์เพื่อทำการจัดพิมพ์ต่อไป












หลักการออกแบบโปสเตอร์




1. ตัวอักษรต้องตัดกับพื้นหลัง


2. ไม่ควรใส่ข้อความแน่นหรือมีจำนวนมากเกินไป


3. ควรคำนึงถึงหลักทฤษฎีสีและศิลปะในการออกแบบ


4. ควรเว้นระยะขอบประมาณ 0.5 ซ.ม.




5. ภาพให้เหมาะสมกับเนื้อหา










ข้อมูลในการผลิตงานพิมพ์โปสเตอร์


1. รูปแบบและรายละเอียดของงานพิมพ์โปสเตอร์งานพิมพ์โปสเตอร์จะมีรูปร่างเป็นกระดาษแผ่นเดียวกระดาษที่ใช้ไม่หนามาก การพิมพ์บนโปสเตอร์จะมีที่พิมพ์เพียงด้านเดียว


2. ขนาดของงานพิมพ์โปสเตอร์ขนาด 15”x 21”, 10.25”x 15”17”x 23.5”(A2), 11.75”x 17”(A3), 8.25”x 11.75”(A4)สำหรับขนาดอื่นที่มิได้กล่าวไว้ อาจทำให้มีการเสียเศษแผ่น


3. กระดาษที่ใช้สำหรับงานพิมพ์โปสเตอร์


กระดาษปอนด์ 100 แกรมขึ้นไปกระดาษอาร์ตมัน/ด้าน 120 แกรมขึ้นไป


4. การพิมพ์และตกแต่งผิวบนของงานพิมพ์โปสเตอร์


มีการพิมพ์โปสเตอร์แบบ 1 สี 2 สี 3 สี 4 สี หรือมากกว่า จะใช้แม่สี 4 สี (CMYK) หรือสีพิเศษก็ได้มักพิมพ์


ด้วยระบบออฟเซ็ท ระบบอิ้งค์เจ็ทหรือระบบดิจิตอล พิมพ์หน้าเดียวสามารถพิมพ์โปสเตอร์เคลือบUV 


เคลือบพลาสติกเงา หรือเคลือบพลาสติกด้าน เคลือบ Spot UV ปั๊มนูน (Embossing) ปั๊มทองหรือฟิล์ม/




ฟอยล์สีต่าง ๆ (Hot Stam)


5. เพิ่มเติมสำหรับงานพิมพ์โปสเตอร์สามารถทำการปั๊มไดคัท (Die-cut) เป็น
รูปต่างๆขึ้นอยู่กับการออกแบบ


6. การปรู๊ฟงานพิมพ์โปสเตอร์จากโรงพิมพ์ฯปรู๊ฟจาก Computer Printer หรือผ่าน Fax สำหรับงานสีเดียว หรือ สองสีควรปรู๊ฟแบบ Digital Proof หรือ ปรู๊ฟจากแท่นปรู๊ฟหากเน้นเรื่องสีสันซึ่งจะถูกนำมาใช้เทีกับงานพิมพ์จริง


7. ระยะเวลาการผลิตงานพิมพ์โปสเตอร์สำหรับโรงพิมพ์ฯส่งมอบภายใน 3 – 5 
วันหลังจากลูกค้าอนุมัติปรู๊ฟแล้











วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบและนำเสนอ วีดิทัศน์หนังสั้นอย่างสร้างสรรค์

หนังสั้น 
หนังสั้น หมายถึง เรื่องที่นำเสนอทั้งภาพและเสียงและในระยะเวลาอันจำกัดประมาณ 5-10 นาที
โดยสะท้อนเรื่องราว สาระที่เกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็ว

ขั้นตอนการผลิตหนังสั้น


1. ขั้นเตรียมการผลิต (Pre-Production)
    1.1 สำรวจความต้องการและวิเคราะห์ปัญหา
    1.2 วิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเรื่อง
    1.3 เขียนบทวีดิทัศน์
    1.4 วางแผนการถ่ายทำ


2. ขั้นการผลิต (Production)
คือ การถ่ายทำวีดิทัศน์เป็นการบันทึกภาพวีดิทัศน์ตามบทวีดิทัศน์ที่ได้เขียนไว้ ในการถ่ายทำควรจะต้อง
ศึกษาบทวีดิทัศน์อย่างละเอียด ถ่ายทำให้ได้ภาพครบตามที่ต้องการ

3. ขั้นหลังการผลิต (Post-Production)
คือ การตัดต่อลำดับภาพ ในขั้นนี้ถือว่าเป็นสุดท้ายของการผลิต เป็นขั้นสำคัญอีกขั้นหนึ่งที่ต้องมีความระเอียดรอบคอบ

4. ขั้นการประเมินผล (Evaluation)
การประเมินผล เป็นการประเมินผลสื่อ เมื่อได้ผลิตรายการวีดิทัศน์มาแล้วต้องนไไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริงเพื่อนไข้อมูลต่างๆ มาปรับปรุงแก้ไขตามที่เห็นสมควร


5. ขั้นเผยแพร
การเผยแพร่ ในการเผยแพร่วีดิทัศน์ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายให้ได้มากที่สุด ป

การเขียนบทวีดิทัศน์
บทวีดิทัศน์ คือ เป็นข้อเขียนหรือรายละเอียดที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นตัวกำหนดแนวทาง ในการดำเนินการผลิตรายการวีดิทัศน์ และสื่อความหมายให้ทุกฝ่ายเข้าใจได้ตรงกันและสื่อความหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์

จุดมุ่งหมายของการเขียนบทวีดิทัศน์
1. เพื่อกำหนดรูปแบบของรายการ
2. เพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาของรายการ
3. เพื่อจัดข่าวสารที่สำคัญของการผลิตรายการให้เป็นขั้นตอน
บทวีดิทัศน์แบ่งออกเป็น 4 แบบใหญ่ๆ
1. บทวีดิทัศน์แบบสมบูรณ์(Fully script)
2. บทวีดิทัศน์กึ่งสมบูรณ์(Semi script )
3. บทวีดิทัศน์บอกเฉพาะรูปแบบ (Rundown sheet)
4. บทวีดิทัศน์แบบร่างกำหนดการของรายการ

การวางแผนกำหนดแนวทางการเขียน
Whoกลุ่มเป้าหมายของเรื่องคือใคร
Why- วัตถุประสงค์ของการน าเสนอเรื่องราว
What - มีอะไรเป็นขอบเขตเนื้อหา
 How- เทคนิคการน าเสนอ น่าสนใจ มีชีวิตชีวา มีลูกเล่น มีขึ้น-ลง
When - เวลา / ความยาว / ออกอากาศ
Where- โรงเรียน / สถานีโทรทัศน์/Internet 

ลำดับขั้นการเขียนบท 
1. ศึกษาแผนการผลิต
2. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
3. การเขียนโครงสร้างเรื่องจากข้อมูลที่ค้นคว้า
4. ควรมีการประชุมเพื่อให้ความเห็นชอบกับโครงเรื่อง
5. ในการเขียนบทสำหรับถ่ายทำ ผู้เขียนบทควรคำนึงอยู่เสมอว่าการเขียนบทวีดิทัศน์ให้ช่างภาพและทีมงานเข้าใจอย่างดี
6. ตรวจสอบประเมินความถูกต้องของบท

องค์ประกอบที่สำคัญของบทวีดิทัศน์
1. ส่วนที่นำเข้าสู่เรื่องหรือแนะน าเรื่อง (introduction) 
2. ส่วนที่เป็นการดำเนินเรื่อง (development)
3. ส่วนที่เป็นแก่นของเรื่อง(climax)
4.เป็นส่วนที่สรุป

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จิตวิทยาการออกแบบและการนำเสนอ&องค์ประกอบในการออกแบบสื่อสร้างสรรค์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
  • แม่สีหรือสีขั้นต้น ทั้งสามประกอบด้วย สีแดง,เหลือง,น้ำเงิน เหตุที่ทั้งสามนี้ถือว่าเป็นแม่สีหลัก เพราะว่าสีทั้งสามเป็นสีไม่สามารถเกิดขึ้นจากการผสมสีอื่นๆ และยังเป็นสีต้นกำเนิดของสีอื่นๆ

การผสมสี(Color Mixing)
รูปแบบการผสมเพื่อให้เกิดเป็นสีต่างๆ สามารถแบ่งได้ 2 แบบ
  • การผสมสีของแสง หรือการผสมสีแบบบวก
  • การผสมของแสงขแงวัตถุ หรือการผสมแบบลบ
การผสมสีแบบบวก  เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากในการทำงานความเข้าใจ การผสมสีของแสง ไม่ใช้การผสมของวัตถุมีสีบนกระดาษ แสงสีขาวประกอบด้วยลำแสง ที่มีสีต่างๆตามความยาวคลื่นแสง พื้นฐานได้แก่สีแดง เหลืองหรือน้ำเงินอย่างที่เข้าใจมาก่อน

ชุดสีร้อน(Warm Color Scheme)
ชุดสีร้อนประกอบด้วยสีม่วง แดง แกมม่วง แดง ส้ม เหลือง และสีเขียวอมเหลือง สีเหล่านี้สร้างความรู้สึกอบอุ่น สบายและความรู้สึกต้อนรับช่วยถึงดูดความสนใจได้ง่าย
ชุดสีเย็น(Cool Color Scheme)
ชุดสีเย็นประกอบด้วยสีม่วง น้ำเงิน น้ำเงินอ่อน ฟ้า น้ำเงินแกรมเขียว และสีเขียว ตรงกันข้ามกับชุดสีร้อน ชุดสีเย็นให้ความรู้สึกสบาย

ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน(Analogues Color Scheme)
ชุดสีที่รูปแบบอย่างง่ายอีกแบบ ก็คือชุดสีที่คล้ายคลึงกัน ประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่อยู่ติดกันในวงล้อสี เช่น สีแดงแกรมม่วง สีแดง และสีส้ม






การใช้สีตามหลักการใช้สี
  • การใช้สีเพื่อให้สีแต่ละสีประสานกลมกลืนกัน
  • การใช้สีเพื่อให้แต่ละสีประสานส่งเสริมซึ่งกัน
วรรณะเย็น(Cool Tone)
ถ้าเรียงลำดับของสีตั้งแต่ สีเขียวเหลือง เวียนมาทางขวาซึ่งประกอบด้วย
  1. สีเขียวเหลือง
  2. สีเขียว
  3. สีเขียวน้ำเงิน  
  4. สีน้ำเงิน
  5. สีม่วงน้ำเงิน
  6. สีม่วง






 หลักการใช้สีแบบ2วรรณะเดียว
  1. การใช้สีแบบวรรณะเดียว
  2. การใช้สีวรรณะเดียวแต่มีการนำอีกวรรณะมารวมกัน
                 องค์ประกอบในการออกแบบสื่อสร้างสรรค์
  • จุด(Point) เป็นจุดที่ชี้ให้เห็น ตำแหน่งในที่ว่าง หรือที่ต่างๆ ไม่มีความกว้าง ความยาว ความลึก จุดให้ความรู้สึกคงที่ ไม่มีทิศทาง ไม่ครอบคลุมพื้นที่ จุดจะเกิดอยู่ในบริเวณต่างๆ
  • เส้น(Line) เส้นเกิดจากการนำจุดหลายๆจุดมาเรียงต่อกัน หรือเกิดจากจุดเคลื่อนที่ เส้นทางที่จุดเคลื่อนที่ไปคือ เส้น มีความยาว ไม่มีความกว้าง หรือความหนามาก การกำหนดทิศทางของเส้นในแนวที่ต่างกันจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน
เส้นตั้ง(Vertical Line) ให้ความรู้สึกสูงสง่า แข็งแรง มั่งคง ถ้าสูงมากๆ ก็จะให้ความรู้สึกไม่ปลอดภัย แต่จะบอกความเติบโต
เส้นนอน(Hotizontal Line) ให้ความรู้สึกสงบ ราบเรียบ แน่นนอน มั่นคง ปลอดภัย ความนิ่ง พักผ่อนเป็นธรรมชาติ
เส้นเฉียง(Oblique Line) ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย ตื่นเต้น สนุกสนานแสดงการเคลื่อนที่ ไม่อยู่นิ่ง
  • ทิศทาง(Direction) ลักษณะที่แสดงให้รู้ว่ารูปแบบทั้งหมดมีแนวโน้มไปทางใด ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกว่า มีการเคลื่อนไหว(Movement) นำไปสู่จุดสนใจ
  • รูปทรง(Form) เกิดจากระนาบที่ปิดล้อมกันทำให้เกิดปริมาตร(Volume)มี3มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ รูปทรงเรขาคณิตและรูปทรงธรรมชาติ
เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดู
จากการออกแบบกลับพื้นที่ภาพ ทำให้เกิดการสร้างสรรค์งาน เป้นสัญญาลักษณ์(Logo) และเป็นที่นิยม เพราะมีความแปลกใหม่ น่าสนใจนอกนี้ยังมีผลของการมองเห็นว่า ภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นที่สีดำ จะทำให้ดูโตขึ้น10-15%
  • ขนาดและสัดส่วน(Size & Scale)
ขนาด(Size) คือ การเปรียบเทียบรูปร่างหรือรูปทรง การวัดสัดส่วน ระยะหรือขอบเขต
สัดส่วน(Scale) คือ ความเหมาะสมของสิ่งของตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป มีความสัมพันธ์กัน
  • วัสดุและพื้นผิว(Material & Texture)
วัสดุ  คือ  วัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการออกแบบ  โดยเลือความเหมาะสมตรงตามลักษณะของงาน  ทำลงบนกระดาษวาดเขียน  อาจเป็นรูปลอกลวดลายต่างๆแบบทึบแสง ถ้าทำลงบนแผ่นโปร่งใสก็ใช้รูปหรือตัวอักษรลอกแบบสีโปร่งแสง  เป็นต้น
 พื้นผิว(Texture)
พื้นผิว  คือ  ลักษณะ  ที่่เกิดจากโครงสร้างของวัสดุ  อาจนำวัตถุดิบหลายๆอย่างมาสร้างให้เกิดพื้นผิวใหม่ หรือแสดงความรู้สึกในการแยกจำแนกความเรียบความขรุขระ  ความแตกต่างของพื้นผิวในทางกราฟิกสามารถแยกออกได้ด้วยประสาทสัมผัส  ทางตา  เป็นส่วนใหญ่  พื้นผิวที่แตกต่างกันจะทำให้รู้สึกต่างกัน

ผิวขรุขระ  ให้ความรู้่สึกปลอดภัย  มั่นคง  แข็งแรง  สาก  สะดุด  หยาบ  ระคายเตือง  ในบางสถานะทำให้ัดูเล็กกว่า  ความจริง
ผิวเรียบมัน  ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง  ลื่น  หรูหรา  วาบหวาม  สดใส  แสงสะท้อน  ในบางสถานะทำให้ดูใหญ่กว่าปกติ

  • ระนาบ (Plane) คือ  เส้นที่ขยายออกไปในทางเดียวกัน  จนเกิดเป็นพื้นที่ขึ้นมา
การจัดองค์ประกอบ (Composition)
1.ความสมดุล(Balance)
2.การเน้นให้เกิดจุดเด่น(Emphasis)
3.เอกภาพ(Unity)
4.ความกลมกลืน(Harmony)
5.ความขัดแย้ง(Contrast)
6.จังหวะ(Rhythm)
7.ความง่าย(Simplicity)
8.ความลึก(Perspective)


วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบและการนำเสนออย่างสร้างสรรค์ ด้วยคอมพิวเตอร์

การนำเสนอโดย Power point
- ต้องมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
- เสียเวลาในการเรียนวิธีใช้โปรแกรม
- ยุ่งยากต่อการออกแบบสไลด์
- ต้องการเครื่องฉายสไลด์

ทำไมต้อง Power point ?
- แก้ไขข้อความได้ง่าย
- ภาพที่ออกมาคมชัด
- ง่ายต่อการควบคุมการเปลี่ยนสไลด์
- เพิ่มภาพประกอบได้
- ใส่ภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงได้
- พิมพ์ออกเพื่อเตรียมตัวนำเสนอ

การวางรูปแบบของสไลด์
- ใช้รูปแบบ Slide 35 mm
-  วางแนวนอน
- ใช้ Templates ที่มีในโปรแกรม
- เว้นขอบทั้ง 4 ด้านให้ว่าง ~ 0.5 นิ้ว
- เนื้อหาจัดให้อยู่กลางสไลด

แนวทางการออกแบบ PowerPoint

- สื่อถึงเนื้อหาที่นำเสนอ
- หนึ่งสไลด์ต่อหนึ่งความคิด
- ชัดเจนและสะดวกต่อการอ่าน
- ความสมดุลและคงเส้นคงวา
- ใช้ภาพประกอบเมื่อจำเป็น

ส่วนประกอบการออกแบบ PowerPoint

1. Introduction ได้แก่ ชื่อเรื่อง/ชื่อผู้นำเสนอ/หน่วยงาน
2. ลำดับหัวข้อในการนำเสนอ
3. เนื้อหาตามลำดับหัวข้อ
4. บทสรุปการนำเสนอ
5. อ้างอิง หรือ ขอบคุณ

สรุป
มีหัวเรื่องทุกสไลด์ ,ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ และหลายรูปแบบ ,สีและรูปแบบตัวอักษรไม่ควรมากเกินไป
พื้นหรือ Background ไม่ควรยุ่งเหยิง ,หัวข้อย่อยไม่ควรมากกว่า 6 หัวข้อต่อสไลด์ ,ลำดับความสำคัญของหัวข้อย่อย ,ใช้กราฟเมื่อต้องการเปรียบเทียบ ดูแนวโน้ม และแสดงความสัมพันธ์
ใช้ภาพประกอบเมื่อจำเป็น ,ควรเว้นช่องไฟให้เหมาะสม ,เพิ่มข้อมูลที่ขาดหายไปเมื่อจำเป็น













วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การสื่อสารและทฤษฏีการสื่อสาร

           การสื่อสารและทฤษฏีการสื่อสารเป็นกระบวนการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเรื่องราวความต้องการ ความคิดเห็น ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับ ผ่านสื่อช่องทาง
1.วิธีการสื่อสาร
- การสื่อสารด้วยวาจา (วจนภาษา)
- การสื่อสารที่มิใช่ว่าจา (อวจนภาษา)
- การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัส หรือการเห็น
2.รูปแบบการสื่อสาร
- การสื่อสารทางเดียว
- การสื่อสารสองทาง
3.ประเภทของการสื่อสาร
- การสื่อสารในตนเอง
- การสื่อสารระหว่างบุคคล
- การสื่อสารแบบกลุ่มย่อย
- การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่
- การสื่อสารมวลชน
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้รับสาร  Source or Center
2. สาร  Message
3. สื่อหรือช่องทาง  Media or Channel
4. ผู้รับ  Receiver
5. ผล  Effect
6. ผลย้อนกลับ  Feedback
อุปสรรคของการสื่อสาร
- คำพูด
- ฝันกลางวัน
- ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง
- การรับรู้ที่จำกัด
- สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย
- การไม่ยอมรับ


วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความหมายของการออกแบบและการนำเสนออย่างสร้างสรรค์

1. ความสำคัญของการออกแบบและการนำเสนออย่างสร้างสรรค์กับการพัฒนาชุมชน?
     
          ความสำคัญของการออกแบบและการนำเสนออย่างสร้างสรรค์กับการพัฒนาชุมชนคือเราจะต้องออกแบบการนำเสนอต่างๆให้เหมาะกับสภาพของคนในชุมชน เรื่องที่เราจะนำมาเสนอเราจะนำเสนอกับกลุ่มคนประเภทใดก็ควรจะทำสื่อให้ตรงกับกลุ่มคนเหล่านั้น เช่นถ้าเราจะนำเสนอให้เด็กๆฟังเราก็ควรจะทำสื่อที่มีสีสันสวยงามให้เด็กอยากจะติดตาม ทำตัวหนังสือขนาดใหญ่ หรือมีสื่อที่เป็นสิ่งล่อใจเด็กๆ เพื่อดึงดูดความสนใจให้มาสนใจในการนำเสนอของเรา ถ้ากลุ่มคนในชุมชนเป็นผู้สูงอายุ หรือวัยรุ่น เราก็จะต้องปรับแต่งการออกแบบของเราให้เข้ากับคนเหล่านั้นให้มากที่สุด เพื่อการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ในการนำเสนอแต่ละครั้ง

2.ภาพประทับใจในการพัฒนาชุมชน พร้อมบอกถึงความประทับใจ..



เหตุผลที่เลือกรูปนี้ : เพราะว่ามันแสดงออกถึงความตั้งใจที่จะช่วยกันทำความสะอาดและเก็บกวาดเศษต้นไม้ คนในภาพดูแล้วท่าทางเป็นวัยรุ่นแต่ยังมีจิตอาสาจะมาช่วยเหลือชุมชนของตนเอง ถึงแม้ว่าจะยืนถ่ายรูปกันอยู่แต่คนข้างหลังก็ยังขะมักเขม้นในการทำความสะอาดพื้นที่ในชุมชนของตัวเอง ดูจากท้องฟ้าแล้วฝนทำท่าว่ากำลังจะตกแต่คนเหล่านี้ก็ยังช่วยกันทำงานช่วยชุมชนกันต่อไป ซึ่งอาจจะเดาได้ว่าก่อนหน้านี้แดดจัดมากเพราะบางคนใส่ผ้าคลุมศีรษะบางคนสวมหมวกกันแดด สวมเสื้อแขนยาว ซึ่งตอนที่ถ่ายภาพนี้ท้องฟ้าดูเหมือนฝนกำลังจะตก ทำให้เห็นว่าอากาศไม่ค่อยดีนักสำหรับวันนี้ทั้งแดดทั้งฝนแต่คนเหล่านี้ก็ไม่หวั่นที่จะทำความสะอาดชุมชนของตัวเอง จึงถือได้ว่าบุคคลเหล่านี้เป็นนักพัฒนาชุมชนที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง.